วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

MANET GROUP

story broad
ฉากที่ 1 นะนำกลุ่ม (ทุกคนในกลุ่ม)
ชื่อกลุ่ม magnet
สวัสดีครับ ผมชื่อนายอธิปัตย์ สัตยดิษฐ์
สวัสดีครับ ผมชื่อนายจีระวัฒน์ วงศ์ไชย
สวัสดีครับ ผมชื่อนายกิตตินันท์ มงคล
พวกผมมาจากโรงเรียนอยู่โรงเรียนปิยมิตรวิทยา
ฉากที่ 2 จุดประสงค์ (จีระวัฒน์นำเสนอ)
จีระวัมน์ : จุดประสงค์ของการทดลอง
1. ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเส้นแรงของแม่เหล็ก
2. ต้องการศึกษาเกี่ยวกับจุดสะเทินของแม่เหล็ก
ฉากที่ 3 แนะนำอุปกรณ์ (อธิปัตย์นำเสนอ)
อธิปัตย์ : วัสดุอุปกรณ์ในการทดลองมีดังนี้
1. แท่งแม่เหล็ก 2 เท่ง
2. ผงตะไบเหล็ก
3. กระดาษ
4. ช้อนตักสาร (ใช้ตักผงตะไบเหล็ก)
ฉากที่ 4 วิธีการทดลอง (อธิปัตย์พูด กิตตินันท์,จีระวัฒน์เป็นคนทดลอง)
อธิปัตย์ : 1.นำแท่งแม่เหล็กขั้วบวกกับขั้วบวกมาวางห่างกันระยะประมาณ 8-10 cm แล้วนำกระดาษที่เตรียมไว้มาวางบนแท่งแม่เหล็ก ใช้ช้อนตักสารตักผงตะไบเหล็กมาโรยบนแผ่นกระดาษ สังเกตการเปลี่ยนแปลง
2. ทำเหมือนขั้นตอนที่ 1 แต่เปลี่ยนเป็นขั้วลบกับขั้วลบ แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
3. ทำเหมือนขั้นตอนที่ 1 แต่เปลี่ยนเป็นขั้วบวกกับขั้วลบ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ฉากที่ 5 สรุปผลการทดลอง (กิตตินันท์)
โดยหัวข้อนี้จะใช้โปรแกรม Flash Animation เข้ามาช่วยโดยจะอธิบายร่วมกับภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเส้นแรงของแม่เหล็กและจุดสะเทินของแม่เหล็กทั้งขั้วที่ต่างกันและเหมือนกัน โดยจะยกภาพมาอธิบายถึงความแตกต่างให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ฉากที่ 6 กล่าวลา (พร้อมกัน)
พวกผมขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่


ประวัติ

ฮาร์วี่เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1578 ที่เมืองฟอล์คสโตน ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ร่ำรวย บิดาของเขาเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองชื่อว่า โทมัส ฮาร์วี่ (Thomas Harvey) ทำให้เขามีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี หลังจากที่ฮาร์วี่สำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนแคนเทอเบอรี่ แกรมมา (Canterbury Gramma School) ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ จากนั้นเขาได้ศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริจด์ (Cambridge University) หลังจากจบวิชาแพทย์ในปี ค.ศ. 1597 ฮาร์วี่ได้เข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยปาดัว (Padua University) ประเทสอิตาลี ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยปาดัว เขามีโอกาสได้พบกับศาสตราจารย์ฮีโรนิมุส เฟบริซิอุส (Heronimus Fabrisius) ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ฮาร์วี่ค้นพบระบบการไหลเวียนโลหิต หลังจากที่ฮาร์ วี่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดาปัวแล้ว เขาได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเซนต์บาร์โทโลมิวกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ฮาร์วี่เป็นแพทย์ที่มีความสามารถ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ป่วยมาก คนไข้ของเขามีตั้งแต่คนร่ำรวยมหาศาล จนถึงยากจนเข็ญใจ ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาเขาได้รับเชิญเข้าร่มเป็นสมาชิกของแพทยสภาในปีค.ศ. 1607 ต่อมาในปี ค.ศ. 1618 ฮาร์วี่ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (King James I) เมื่อพระเจ้าเจมส์เสด็จสวรรคต พระเจ้าชาร์ลที่ 1 (King Charles I) ขึ้นครองราชสมบัติสืบแทน ทรงแต่งตั้งให้ฮาร์วี่เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ระหว่างที่ฮาร์วี่ทำงานในตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนของโลหิต โดยใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 10 ปี ในการบันทึก สังเกต และศึกษาจากการผ่าตัดผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย และในที่สุดเขาสามารถค้นพบเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในปี ค.ศ. 1628 และ ในปีเดียวกัน ฮาร์วี่ไดี้พิมพ์ผลงานของเขาเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ลงในหนังสือชื่อว่า การทำงานของหัวใจ และระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายสัตว์ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจว่ามีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิต ลักษณะของหัวใจคล้ายกับถุงกล้ามเนื้อที่เต้นอยู่ตลอดเวลา และการเต้นของหัวใจก็ทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต โดยมีเลือดแดงที่ไหลออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย จากนั้นเลือดแดงจะกลายเป็นเลือดดำ และกลับขึ้นมาสู่หัวใจอีกครั้งหนึ่ง เลือดจะถูกส่งเข้าไปยังห้องหัวใจซีกขวาด้านบนก่อน จากนั้นจึงไหลเข้าสู่ห้องหัวใจซีกขวาด้านล่าง และส่งออกจากห้องนี้ไปสู่ปอด ซึ่งมีหน้าที่นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) ในเลือดออกไป แล้วนำก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าไปแทนที่ เมื่อปอดฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงแล้วจะถูกส่งกลับไปยังห้องหัวใจซีกซ้าย ด้านบนอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะถูกส่งไปยังห้องหัวใจซีกซ้ายด้านล่าง ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย และจะเป็นระบบเช่นนี้เรื่อยไป เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่หัวใจหยุดเต้นก็เท่ากับว่าหยุดการสบฉีดโลหิต เลือดในร่างกายก็จะกลายเป็นเลือดดำ ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้แล้วฮาร์วี่ยังพบหน้าที่ของลิ้นหัวใจ ซึ่งอยู่ระหว่างห้องหัวใจต่าง ๆ ว่ามีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไปทางเดิม หัวใจลักษณะนี้ จะมีอยู่ในสัตว์ที่มีปอด หรือหายใจข้า - อออก ทางจมูกเท่านั้น ส่วนสัตว์น้ำหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งหายใจ เข้า - ออก ทางเหงือก ทางผิวหนัง หรือวิธีการอื่น ๆ สัตว์เหล่านี้จะใช้ห้องหัวใจเพียงห้องเดียวทางด้านซ้าย ก็เพียงพอต่อการสูบฉีดโลหิต เมื่อฮาร์วี่ เผยแพร่ผลงานออกไป ปรากฏว่าคนทั่วไปไม่เห็นด้วย รวมถึงวงการแพทย์ก็ต่อต้านอย่างหนัก คนไข้ของเขาบางคนถึงกับเลิกรักษากับเขาเลยทีเดียว จนกระทั่งเขาเสียชีวิตก็ยังไม่สามารถทำให้ทุกคนเชื่อถือในสิ่งที่เขาค้นพบ ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบของเขาก็มิได้สูญเปล่า เพราะหลังจากนั้นไม่นานเมื่ออังตวน แวน เลเวนฮุค (Anton Van Leeuwenhoek) สามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ วงการแพทย์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบการไหลเวียนโลหิตของมนุษย์นั้นเป็นไป อย่างที่ฮาร์วี่กล่าวไว้ ฮาร์วี่ทำงาน เป็นแพทย์ประจำราชสำนักอยู่นานกว่า 25 ปี เขาลาออกจากหน้าที่ในปี ค.ศ. 1646 เนื่องจากชราภาพมากแล้ว และ เสียชีวิตในปีต่อมาที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657ผลงาน

ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ แต่ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนายแพทย์ท่านใดรู้ความจริงที่ว่า เลือดเดินทางอย่างไรในร่างกาย อีกทั้งหน้าที่ของหัวใจก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อประมาณปี 600 ก่อนคริสต์ศักราช นายแพทย์ชาวกรีก คลาดิอุส กาเลน (Clandius Galen) ได้ศึกษาและอธิบายว่า ระบบโลหิตในร่างกายมนุษย์มีลักษณะคล้ายน้ำขึ้นน้ำลง ส่วนหัวใจมีหน้าที่ในการทำให้เลือดอุ่น ส่วนหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลย เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาเมื่อเลือดมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลือดดำออกมา ความเชื่อเหล่านี้ผิด แต่คนทั่วไปรวมถึงแพทย์ก็ยังคงให้ความเชื่อถือ จนกระทั่ง วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ นายแพทย์ชาวอังกฤษได้ศึกษาค้นคว้า และพบความจริงเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ทำให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าผลงานของเขาเป็นเรื่องจริง แต่นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อถือ และต่อต้านเขาอีกด้วย ทำให้เขาได้รับความลำบาก แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่ยอมแพ้ และในที่สุดสิ่งที่ฮาร์วี่ค้นพบก็ได้รับการยอมรับ

ปิทาโกรัส


ประวัติ

เกิด 582 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองซามอส ประเทสกรีซ (Greece)เสียชีวิต 507 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองเมตาปอนตัม กรีซ ปิทาโกรัสเป็นักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ และทฤษฎีเรขาคณิตที่ใช้มาจนทุกวันนี้ ประวัติส่วนตัวของเขาไม่ได้มีการบันทึกไว้มากนัก เขาเป็นคนฉลากหลักแหลมและรอบรู้มีความสามารถและเป็นที่นับถือของชาวเมือง ทั่วๆไป อายุ 16 ปีเขาได้ได้ไปร่ำเรียนเป็นลูกศิษย์ของ เทลีส (นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอีกคนของกรีก ผู้ค้นพบไฟฟ้าสถิตย์ เกิดก่อน คริสต์ศักราช 640 ปี) ผู้เป็นนักปรัชญาเอกของโลกซึ่งได้ถ่ายเทวิชาให้เขาทั้งหมด แต่เขาก็ได้เดินทางไปหลายประเทศเพื่อศึกษาหาความรู้เช่น อาระเบีย เปอร์เซีย อินเดีย อียิปต์ จนกลับมาตั้งโรงเรียนเองบนเกาะซามอสบ้านเกิด โรงเรียนของเขาสอนด้าน ปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ มีลูกศิษย์มากมาย ส่วนใหญ่เป็นลูกคณบดี และพอเรียนจบก็มีการตั้งชมรม ชุมนุมปีทาโกเรียนเพื่อศึกษาด้านคณิตศาสตร์อย่างกว้างขวาง ปิทาโกรัส ได้กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มีคณิตศาสตร์แล้วทุกอย่างจะไม่เกิดขึ้น เพราะการคำนวณต่างๆต้องเกี่ยวกับตัวเลขทั้งสิ้น นอกจากนี้เขายังเขายังพบเลขคี่ คือ 5 เป็นตัวแรกของโลก และเลขยกกำลังสอง นอกจากนี้เขายังแบ่งคณิตศาสตร์ออกเป็น 2 สาขา คือ 1. เลขคณิต เกี่ยวกับตัวเลข 2. เรขาคณิต เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ เช่นสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ปิทาโกรัส เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกผู้ตั้งทฤษฎีว่าโลกกลมและหมุนรอบตัวเอง รวมถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ ก็หมุนรอบตัวเองเช่นกัน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมานักดาราศาสตร์อย่างกาลิเลโอ โคเปอร์นิคัส ได้นำมาพิสูจน์และถูกต้อง

ผลงาน

-สร้างสูตรคูณหรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table)

-ทฤษฎี เรขาคณิตที่ว่า ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆกำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก

-สมบัติของแสงและการมองวัตถุ

-สมบัติของเสียง

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง


ประวัติ

เกิดวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ประเทศสก๊อตแลนด์ เสียชีวิต 11 มีนาคม ค.ศ. 1955 กรุงลอนดอน อังกฤษ เฟลมมิ่ง เป็นชาวสก๊อตแลนด์บิดา-มารดาฐานะดี บิดาชื่อ ฮิวส์เฟลมมิ่ง (Huge Fleaming) ชีวิตในวัยเด็กเขาเป็นเด็กฉลาดซุกซนรอบรู้จนได้เข้าเรียนด้านแพทย์ศาสตร์ที่ วิทยาลัยแพทย์แห่งโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ และจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หลังเรียนจบได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกภูมิคุ้มกันโรค แผนกแบคทีเรีย เป็นทหารเสนารักษ์ ประจำกองทัพตำรวจหลวง (Royal Army Corps) ทำให้เขาได้เห็นและรักษาเหล่าทหารบาดเจ็บจากภาวะสงครามเป็นจำนวนมาก โรคที่ตามมาเช่น บาดทะยักมีอาการอักเสบ เน่าเปื่อย จนทำให้ทหารต้องเสียชีวิต ซึ่งมาจากเชื่อจุลินทรีย์นั่นเองเป็นแรงบันดาลใจให้เขาทำการศึกษาค้นคว้า เรื่องแบคทีเรียอย่างจริงจังจนทำให้เขาได้ค้นพบแบคทีเรียที่ชื่อว่า สเตปฟิโบ คอกคัส” (Staphy lococlus) ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อนี้จะปวดแสบบาดแผลมาก จนเขาสามารถสกัดเชื้อนี้ได้จาก น้ำมูก น้ำตา ของมนุษย์นี้เองแต่ก็ไม่สามารถปราบได้ราบคาบ จนในที่สุดก็สามารถค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งนำมาสกัดเป็นยาชื่อ เพนนิซิลิน เชื้อราชนิดนี้อยู่ในกลุ่มเพนนิซิเลียม โดยร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียชื่อ โฮวาร์ด วอลเทอร์ (Howard Walter) ในการสกัดแยกเพนนิซิลินได้จนสำเร็จจนทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับ โฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเซน ประโยชน์ของยาเพนนิซิลินสามารถโรคต่างๆ ได้มากกว่า 80 ชนิด เช่น แอนแทรกซ์, คอตีบ, ปอดอักเสบ, บาดทะยัก, เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นต้น ในปี ค.ศ. 1955 เสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ผลงาน

ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เพนนิซีเลียม (Peniciliam) แล้วนำมาสกัดเป็นตัวยามีชื่อว่า เพนนิซิลิน (Penniciline)

ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์เซน ในปี ค.ศ. 1946

มารี กูรี และ ปิแอร์ กูรี


ประวัติ

มารี กูรี นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม มาร์ยา ปิแอร์ กูรีสโคล โดฟสกา (Marja Sklodowaska) เกิด ค.ศ. 1867 ที่กรุงวอร์ซอว์ โปแลนด์ ตาย ค.ศ. 1934 รวมอายุ 67 ปี ปิแอร์ กูรี นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เกิด ค.ศ. 1859 ตาย ค.ศ. 1906 รวมอายุ 47 ปี ทั้งสอง เป็นสามีภรรยากัน

ผลงาน

ค้นพบกัมมันตภาพรังสีของทอเรียม ค้นพบธาตุกัมมันตรังสี 2 ชนิด คือ พอโลเนียมและเรเดียม ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคมะเร็ง และโรคผิวหนังได้ แยกเรเดียมจากสินแร่ ค้นพบทฤษฎีของสารพาราแมกเนติก ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับแบ็กเกอแรล ใน ค.ศ. 1903 และมารี กูรี ได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งในสาขาเคมี ใน ค.ศ. 1911

ลอร์ด เคลวินลอร์ด เคลวิน


ประวัติ

นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1824 ที่เมืองเบลฟาสต์ ตาย ค.ศ. 1907 รวมอายุ 83 ปี

ผลงาน

ประดิษฐ์เครื่องหยั่งทะเลแบบใหม่ ประดิษฐ์กัลวานอมิเตอร์ แบบกระจกสำหรับใช้ในการโทรเลข ประดิษฐ์โทรเลขแบบไซฟอน สามารถใช้บันทึกข่าวสารลงไปทันที ประดิษฐ์เข็มทิศเดินเรือ แบบใหม่ ค้นพบมาตราสัมบูรณ์ของอุณหภูมิ